รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 824 และ 850 ของ รถจักรไอน้ำแปซิฟิค_CX50

เดิมใช้การในเส้นทางรถไฟสายใต้ ตั้งแต่สถานีรถไฟบางกอกน้อย (สถานีรถไฟธนบุรี) ส่วนใหญ่จะทำขบวนรถเร็วไปถึงสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ และได้ปลดระวางเลิกใช้การเข้ามานอนจอดสงบนิ่งอยู่ที่โรงรถจักรธนบุรี รางข้างโรงรถจักรจอดอยู่คันในสุดของรถจักรรวม 4 คันในรางนี้ ตั้งแต่วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2517 ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2528 ทางการรถไฟฯมีแนวคิดที่จะฟื้นฟู บูรณะรถจักรไอน้ำขึ้นจำนวน 6 คันแบ่งเป็นรถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50 2 คันคือ 953 และ 962 รถจักรไอน้ำ แปซิฟิก CX50 2 คันคือ 824 และ 850 และรถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 713 และ 715  โดยศูนย์กลางซ่อมอยู่ที่โรงรถจักรธนบุรี ในยุคที่นายสวัสดิ์  ม้าไว เป็นสารวัตรรถจักรธนบุรี โดยการขับเคลื่อนของนายช่าง สุเมธ หนูงาม ตำแหน่งวิศวกรอำนวยการลากเลื่อนในขณะนั้น ท่านได้ระดมอุปกรณ์อะไหล่ที่เก็บไว้ที่ โรงรถจักรทุ่งสง และโรงรถจักรอุตรดิตถ์ พร้อมช่างฝีมือจากทุ่งส่งจำนวน 4 นาย มาร่วมกับช่างฝีมือที่ธนบุรีเพื่อ พร้อมซ่อมบูรณะรถจักรไอน้ำดังกล่าวข้างต้น การซ่อมรถจักรไอน้ำในครั้งนั้นใช้เวลาซ่อมจำนวน 4 เดือนจึงสามารถทำการทดลองวิ่งตัวเปล่ารถจักร 962 & 953  จาก ธนบุรี - วัดงิ้วราย - ธนบุรี ในวันที่ 10 มีนาคม 2529 และทำการทดลองเดินขบวนเปล่าจำนวนตู้โดยสาร 10 ตู้ในวันที่ 13 มีนาคม 2529 สำหรับรถจักร 824 & 850 ซ่อมเสร็จทำการทดลองวิ่งตัวเปล่าจาก ธนบุรี - วัดงิ้วราย - ธนบุรี ในวันที่ 19 มีนาคม 2529 และทำการทดลองเดินขบวนเปล่าจำนวนตู้โดยสาร 8 ตู้ในวันที่ 22 มีนาคม 2529  ต่อมาในวันที่ 26 มีนาคม 2529 เป็นวันคล้ายวันสถาปนาการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงจัดรถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50 หมายเลข 953 พหุกับ รถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50 หมายเลข 962 เดินขบวนพิเศษจากสถานีกรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ นับเป็นครั้งแรกที่มีการเดินรถจักรไอน้ำในโอกาสพิเศษ และเป็นการเดินรถจักรไอน้ำครั้งแรกหลังจากที่ปลดระวางไปตั้งแต่ปี 2517 เป็นระยะเวลา 12 ปี ซึ่งได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชนสองข้างทางรถไฟอย่างมากมาย พนักงานขับรถจักรไอน้ำในครั้งนั้น คือนายชำนาญ ล้ำเลิศ (เสียชีวิตแล้ว) นายกุล กุลมณี (เสียชีวิตแล้ว) และต่อมาก็ทำการซ่อมรถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 713 และ 715 เพิ่มอีก 2 คันเพื่อทำการเดินขบวนเสด็จ หมายกำหนดการสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จไปยังปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2529 รถจักรไอน้ำทุกคันที่มีการซ่อม ได้ดัดแปลงระบบไฟฟ้า ห้ามล้อ และเครื่องยนต์ของรถจักร Henschel เพื่อต่อพหุ ทำขบวนเป็นขบวนพิเศษนำทางขบวนเสด็จจาก กรุงเทพ – กาญจนบุรีท่ากิเลน และไปจอดรอที่ป้ายหยุดรถวังสิงห์ หมายกำหนดการ ใช้รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 824 พหุกับ รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 850 ลากจูงขบวนเสด็จจาก สถานีรถไฟหลวงจิตรลดา ไปถึงสถานีกาญจนบุรี โดย นายชำนาญ ล้ำเลิศ เป็น พนักงานขับรถคันนำ เมื่อทำขบวนเสด็จถึงสถานีกาญจนบุรี จอดเทียบให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และข้าราชบริพาร ประชาชนเฝ้าเสด็จ และทางการรถไฟฯ ก็ได้ทำการเปลี่ยนหัวรถจักรไอน้ำใหม่โดยนำเอาหัวรถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 713 พหุ 715 ทำขบวนเสด็จต่อจาก สถานีกาญจนบุรี ไป ที่สถานีท่ากิเลน และเสด็จทางรถยนต์พระที่นั่งต่อไปยังปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีท่ากิเลนไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3.5 กม. พนักงานรถจักรที่มีหน้าที่ขับรถชื่อนายกุล มณีกุล

ใกล้เคียง

รถจักรดีเซล DD51 รถจักรไอน้ำ รถจักร รถจักรดีเซลในประเทศไทย รถจักรยาน รถจักรไอน้ำ C56 รถจักรไอน้ำญี่ปุ่น มิกาโด รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค ซีเอ็กซ์ 50 รถจักรยานยนต์ตำรวจ รถจักรยานยนต์